tumflowers - ประวัติพานขันหมาก
   
 
  หน้าหลัก
  Wedding Flowers
  Vase
  Fruit and vegetable carving
  Croce Post
  flower garlands
  Wedding
  => ประวัติพานขันหมาก
  => รูปพานขันหมาก
  Contact

พานขันหมาก

     ประเพณีการยกขันหมากสู่ขอนั้นเป็นพิธีมงคลที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการคาราวะผู้ปกครองฝ่ายเจ้าสาว 
เป็นการบอกกล่าวขออนุญาตที่เจ้าบ่าวจะสู่ขอเจ้าสาวไปเป็นภรรยา ประวัติที่มาของพานขันหมากนั้น
มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยที่สมเด็จพระร่วงเจ้าได้ทรงบัญญัติว่า 
ถ้าชาวไทยทำการรับแขกเป็นสนามใหญ่มีการอาวาห์มงคลหรือวิวาห์มงคลแล้ว 
ให้ร้อยกรองดอกไม้เป็นรูปพานขันหมาก และให้เรียกว่า พานขันหมาก

เมื่อพูดถึงพานขันหมาก เรามักจะนึกถึง พานขันหมาก พานเชิญขันหมาก พานสินสอดทองหมั้น 
พานแหวน พานขนมผลไม้ และพานต้นกล้วย ต้นอ้อย จำนวนของพานขันหมากที่ใช้สำหรับ
งานแต่งงานในปัจจุบันจะแปรผันตามรูปแบบการจัดขบวน


ลักษณะเด่นของพานขันหมากชาววังจะอยู่ที่ความละเอียด ประณีต มีการวางลวดลายที่วิจิตรงดงาม 
มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ มีการประดิดประดอยดอกไม้ ซึ่งต้องใช้ความละเอียด และเวลาในการจัดทำ
สูงกว่าพานขันหมากแบบปกติ


การจัดขันหมากฝีมือชาววังที่นิยมทำกันนั้นมี แบบ คือ แบบใช้พลูจีบ กับแบบที่ไม่ใช้พลูจีบ 
ซึ่งทั้ง 
แบบจะใส่หมากพลูเป็นจำนวนคู่ อย่าง คู่ หรือ คู่ นำมาจัดเรียงให้สวยงาม 
สาเหตุที่ต้องมีการใส่หมากพลูลงไปในพานขันหมากก็เพราะในสมัยก่อนนิยมกินหมาก 
จึงมีการใช้หมากพลูเป็นเครื่องต้อนรับเพื่อแสดงไมตรีจิต 
เวลาแขกมาเยือนก็ยกเชี่ยนหมากมารับรอง ซึ่งหมายถึง ยินดีต้อนรับอย่างเป็นกันเองด้วยไมตรีจิต
 ด้วยเหตุนี้ เมื่อจะไปสู่ขอหรือแต่งงานกับลูกสาวใคร ซึ่งเป็นคนต่างบ้านต่างถิ่น 
แม้จะมีของอย่างอื่น แต่ก็ต้องมีหมากพลูไปคำนับเพื่อแสดงไมตรีจิตด้วย

ดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในพานขันหมากได้แก่ ดอกรัก หมายถึง ให้มีความรักที่เหนียวแน่น 
ดอกบานไม่รู้โรย หมายถึง ความรักที่ยืนยง ไม่จืดจาง และดอกดาวเรือง หมายถึง 
ความเจริญรุ่งเรืองสำหรับคู่บ่าวสาว ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ต้องมีบนพาน 
คือ หมากพลู ใบเงิน ใบทอง ใบนาก ข้าวเปลือก งา ถั่วเขียว ถั่งทอง ถุงเงิน ถุงทอง 
ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมาย อย่างข้าวเปลือกให้ไว้เป็นพันธุ์ข้าวสำหรับเป็นทุนเริ่มชีวิตครอบครัว 
เพราะแต่เดิมชาวไทยทำกสิกรรมปลูกข้าวเป็นหลัก หนุ่มสาวที่แต่งงานใหม่เมื่อต้องมีเหย้ามีเรือน
แยกไปจากพ่อแม่ จึงต้องมีการปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูก

ผลไม้ ที่เป็นอาหารอันจำเป็นต่อการยังชีพในอนาคต ส่วนขนมมงคลต่าง ๆ อาทิ 
ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองเอก หมายถึงการหยิบเงินหยิบทองให้ร่ำรวยในชีวิตคู่ 
ส่วนขนมจ่ามงกุฎ เป็นการเสริมให้มียศตำแหน่งในหน้าที่การงาน ขนมชั้น หมายถึง
 ความสามัคคี มั่นคง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคู่บ่าวสาว ขนมเสน่ห์จันทร์ 
ให้มีความหลงรักซึ่งกันและกันไม่เสื่อมคลาย ขนมกง หมายถึงความรักที่ไม่มีวันสิ้นสุด 
และขนมลูกชุบ หมายถึงการมีลูกมีหลาน สำหรับพานต้นกล้วย ต้นอ้อย 
จะเป็นการให้บ่าวสาวนำกล้วยอ้อยดังกล่าวไปปลูกร่วมกัน อาจเป็นการทำนายอย่างหนึ่ง 
ถ้าหากบ่าวสาวปลูกได้เจริญงอกงาม ก็จะบ่งบอกถึงความรักที่สมบูรณ์ มีลูกเต็มบ้าน 
หลานเต็มเมือง

การจัดพานขันหมากชาววังจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง 
ที่จะช่วยสร้างความประทับใจในพิธีมงคลสมรสอย่างมิรู้ลืม


รูปแบบพานในพิธีมงคลสมรสตามประเพณีไทย
พานขันหมาก เป็นพานของฝ่ายชายเชิญมาที่บ้านฝ่ายหญิง ซึ่งประกอบไปด้วย หมากพลู 
ใบเงิน ใบทอง ใบนาก ข้าวเปลือก งา ถั่วเขียว ถั่วทอง ถุงเงิน ถุงทอง ดอกรัก ดอกดาวเรือง 
และดอกบานไม่รู้โรย

พานต้นกล้วย-ต้นอ้อย มีไว้สำหรับใส่ต้นกล้วย-ต้นอ้อย ซึ่งสมัยโบราณต้องการให้มีผลไม้
 เพื่อสื่อถึงให้คู่บ่าวสาวทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง

พานเชิญขันหมาก เมื่อขบวนขันหมากมาถึงบ้านฝ่ายหญิง และผ่านประตูเงินประตูทอง 
ฝ่ายหญิงก็จะลงมาเชิญขันหมากขึ้นเรือน 
เป็นธรรมเนียมมารยาทที่เชื้อเชิญญาติผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายขึ้นเรือน

พานแหวน ใช้สำหรับใส่แหวนหมั้นของชายหญิง ในกรณีที่มีการหมั้น-การแต่งงานเกิดขึ้น

พานขนม พานที่ใส่ขนมมงคล 9 อย่าง เพื่อส่งเสริมชีวิตคู่ให้มีความสุขความเจริญ
ได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองเอก ขนมจ่ามงกุฎ ขนมเสน่ห์จันทร์ 
ขนมลูกชุบ ขนมกง และขนมชั้น

พานสินสอด เป็นพานสำหรับใส่เงิน ทอง เพชร นาค ไว้ในพานเดียวกัน 
แต่ถ้ามีฐานะจะแยกพานสินสอดอย่างละพานก็ได้

พานเทียนแพ มีไว้สำหรับบูชาพระรัตนตรัย และกราบไว้พ่อ-แม่ เป็นการคาราวะ
ขอพรขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงการขอพรจากผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายชาย-หญิง

พานรดน้ำสังข์ ใช้สำหรับพิธีหมั้นตอนเช้า ซึ่งจะมีการรดน้ำสังข์ เพื่อเป็นศิริมงคลกับชีวิตคู่     

Today, there have been 3 visitors (5 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free