tumflowers - ประวัติการจัดดอกไม้ 533
   
 
  หน้าหลัก
  Wedding Flowers
  Vase
  => ประวัติการจัดดอกไม้ 533
  => รูปแบบการจัดแจกัน
  Fruit and vegetable carving
  Croce Post
  flower garlands
  Wedding
  Contact

 

ประวัติความเป็นมาของการจัดดอกไม้

  • เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาค้นคว้าหาข้ออ้างอิง เพื่อใช้ประกอบเป็นหลักฐานทางด้านประวัติผู้ประดิษฐ์คิดนำดอกไม้สด มาใช้ในพิธีเป็นครั้งแรกหรือบุคคลแรก เพื่อไว้เป็นหลักฐานเรื่องราวให้ชนรุ่นหลัง ได้ทราบประวัติความเป็นมารวมทั้งข้อสันนิษฐานว่าบรรพบุรุษได้นำดอกไม้ ที่มีความสวยงามตามธรรมชาติมาใช้อย่างเป็นพิธีการ เช่น นำมาจัดบูชาพระรัตนตรัย นำมาจัดประดับตกแต่งสถานที่ในงานทั่วไปและในพิธีสำคัญ เพื่อให้มีความสดชื่นสวยงาม หรูหราและตื่นตา และเป็นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยสีสันหลากหลายของดอกไม้ และได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้

  •   ตามหลักฐานที่ได้ศึกษาค้นคว้า ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระนิพนธ์ไว้ เมื่อปีชวด พ.ศ.2431 ได้ทรงบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย ได้กล่าว ถึงนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ได้ตกแต่ง
     
    โคมลอย เพื่อใช้ในพิธีสิบสองเดือนและพระราชพิธีการลอยพระประทีป ซึ่งได้ประดับตกแต่งด้วยดอกไม้สด ผลไม้แกะสลัก มาประดับตกแต่งโคมลอยให้มีความสวยงามยิ่งและได้ทรงกล่าวไว้ว่า ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งเป็นพระสนมเอกแต่ครั้งพระเจ้าอรุณมหาราช คือ พระร่วงเจ้าเป็นพระเจ้าแผ่นดินสยามตั้งแต่อยู่ ณ เมืองสุโขทัย ในพระราชนิพนธ์ได้กล่าวว่า นางนพมาศได้เข้ารับราชการได้คิดอ่านทำกระทงดอกไม้พระเจ้าแผ่นดิน ประดิษฐ์เป็นรูปดอกบัว
  • จากหลักฐานอ้างอิงได้กล่าวมา น่าจะเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า นางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นสตรีไทยท่านแรกที่เป็นผู้ริเริ่มนำเอาดอกไม้สดมาใช้ในพิธีการตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นครั้งแรก และได้สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
  • ข้อความในประวัติการร้อยลัย (จันทนา สุวรรณมาลี, 2529) ได้เขียนไว้ในหนังสือตอนหนึ่งว่าบรรพบุรุษของไทยเรามีชื่อสียงในงานด้านศิลป์อย่างมากมาย โดยเฉพาะการนำดอกไม้สดมาประดิษฐ์เป็นพวงดอกไม้และนำมาประดิษฐ์ตกแต่งโคมลอย ได้สวยงามของนางนพมาศแล้ว” ยังมีหลักฐานได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า ในเดือนเมษายน มีพระราชพิธีสนามใหญ่ บรรดาเจ้าเมือง เศรษฐี คหบดี เข้าเฝ้าบังคมพระร่วงเจ้า เพื่อถวายเป็นเครื่องบรรณาการ พระสนมกำนัลต่างๆ ก็ร้อยกรองดอกไม้เป็นรูปสัตว์ต่างๆ และในครั้งนั้นนางนพมาศก็ร้อยดอกไม้สีเหลืองเป็นรูปพานทองสองชั้นเป็นระย้าสองชั้น งดงามใส่ลงในพานขันหมากเมี่ยงแล้วร้อยดอกไม้เป็นตาข่ายคลุมขันอีกชั้นหนึ่ง ดูเป็นที่เจริญตาและถูกฤดูกาลเทศะอีก สมเด็จพระร่วงเจ้าทรงบัญญัติว่า ถ้าชาวไทยทำการรับสนามใหญ่ มีอาวาหมงคลหรือลิลาหมงคล เป็นต้น ในการกรองดอกไม้เป็นรูปพานขันหมาก ดังนี้เรียกว่า พานขันหมาก
     


  •  
  • ในสมัยรัตนโกสินทร์เริ่มต้นรัชกาลสืบมา งานฝีมือด้านประดิษฐ์ดอกไม้สดเป็นที่ยอมรับในฝีมือและมีชื่อเสียงมาก เป็นที่นิยมประดิษฐ์ จัดดอกไม้สดในงานต่างๆ ทั่วไป โดยเฉพาะในพระราชพิธีต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5ทรงมีพระราชนิยมการทำดอกไม้มากมาย จัดดอกไม้มากมาย จัดถวายให้ทรงใช้ในงานนั้นๆ เสมอ พระมเหสีเทวีทุกตำหนัก ใฝ่พระทัยในการจัดดอกไม้ไปตามๆกัน แต่ละพระองค์ต่างก็มีชื่อเสียงในด้านต่างๆ ตามๆกัน สมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ (พระพันปีหลวง) ครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระบรมราชินีนาถ ได้โปรดเกล้าฯให้ฝึกอบรมข้าหลวงและครูโรงเรียนราชินีให้รู้จักทำดอกไม้แห้งแทนดอกไม้สดด้วย ทรงส่งเสริมฟื้นฟูการทำดอกไม้เป็นอันมาก พระองค์เองก็ใช้เวลาว่างประดิษฐ์ดัดแปลงการทำดอกไม้แบบเก่าๆ ให้แปลกพิสดารไปอีกมีพระนามเลื่องลือในการร้อยมาลัยมะลิเป็นมาลัยสีขาวกลม ซึ่งเป็นมาลัยธรรมดาไม่มีลวดลายและต่อมาได้พลิกแพลงมาเป็นมาลัยสลับสีเป็นมาลัยเกลียว ซึ่งมีความสวยงามและเป็นลวดลายสีสันขึ้น

  • หนังสือชุดมรดกไทย สัญลักษณ์วันแม่ ชื่อมะลิ” (มณีรัตน์ จันทนะผะลิน, 2526)ได้เขียนประวัติและที่มาได้นำมาเป็นข้ออ้างอิงโดยได้กล่าวถึงประวัติเริ่มต้นของคนไทย ที่รู้จักการนำดอกไม้มาร้อยเป็นพวงมาลัยไว้ตอนหนึ่งในหนังสือ พระราชพิธีสิบสองเดือน ดังนี้ แต่โบราณสมัยก่อนกรุงสุโขทัย บรรพบุรุษของไทยได้คิดประดิษฐ์ ใบไม้ เป็นแบบต่างๆ มากมายแต่ไม่ผู้ใดจดบันทึกไว้ในอนุชนรุ่นหลังได้ค้นคว้า จนถึงสมัยสมเด็จพระร่วงเจ้ามีนางนพมาศซึ่งเป็นพระสนมเอกในสมัยนั้น ได้จดบันทึกเรื่องราวของตนเองไว้ นางเองเป็นหญิงนักปราชญ์ มีความรอบรู้ในพิธีการต่างๆ งานประดิษฐ์ งานฝีมือและอื่นๆ ตลอดจนมีความรู้ทางหนังสือ ด้วยความปรีชาสามารถของนางนพมาศ เราจึงได้มีโอกาสทราบว่า การจัดดอกไม้ของไทยมีจุดเริ่มต้นแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา
Today, there have been 1 visitors (3 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free